หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

อักษรขอม



  อักษรขอมพัฒนามาจากอักษรปัลลวะ และอักษรยุคหลังจากนั้นในอินเดียใต้ ใช้ในอาณาจักรต่างๆสองฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ต่อมาจึงกลายเป็นอักษรท้องถิ่นในสมัยพระนคร และเป็นต้นแบบของอักษรไทยและอักษรเขมรในปัจจุบัน



  เอกลักษณ์ของอักษรขอมคือเปลี่ยนบ่าอักษรของอักษรปัลลวะเป็นศกหรือหนามเตย อักษรนี้พัฒนาไป 2 ทิศทาง คือ เป็นอักษรขอมในประเทศไทย (ใช้เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร) และอักษรขอมในประเทศกัมพูชา (ใช้เขียนภาษาเขมร ภาษาบาลี)

อักษรขอมไทยกับขอมกัมพูชา

  หนังสือบางเล่มมักจะใช้คำว่า อักษรขอมแบบของไทย เพราะได้พบหลักฐานชื้นหนึ่งที่ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวถึงไว้ ในหนังสือ "ตำนานอักษรไทยของท่าน" ซึ่งทำให้วิเคราะห์ได้ว่า อักษรขอมนั้น แท้จริงก็คืออักษรแขก หรืออักษรอินเดียใต้ เมื่อชาวอินเดียใต้เป็นผู้นำพุทธศาสนามาเผยแพร่นั้นก็ได้นำหนังสือของตน หรือหนังสือ (อักษร) ปัลลวะของอินเดียใต้มาเผยแพร่ด้วย ดังนั้น หนังสือเหล่านี้จึงปรากฎว่ามีทั่วไปทั้งในกัมพูชาในชวา และสุมาตรารวมทั้งในสยามประเทศด้วย (รวม พ.ศ. 1100 - 1600)

  เมื่อประเทศต่าง ๆ เหล่านี้รับวัฒนธรรมตลอดกระทั่งศาสนาของชาติอินเดียมาปรับปรุงใช้ในประเทศของตน ประเทศเหล่านี้ซึ่งยังไม่มีหนังสือของตนใช้มาก่อน จึงยินดีรับหนังสืออินเดียใต้มาใช้เป็นหนังสือของชาติตนด้วย แต่ครั้นกาลล่วงมานานความนิยมในการเขียนการใช้และความคล่องหรือคุ้นเคยในการเขียนอักษรอินเดียของแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไปเป็นธรรมดา และก็ได้เกิดเป็นประจักษ์พยานให้เห็นว่า อักษรขอมที่กัมพูชาใช้เขียนนั้น แตกต่างกับอักษรขอมที่สยามเขียนส่วนจะต่างกันอย่างไรนั้นผู้ศึกษาจงใช้ข้อสังเกตอ่านเอาจากข้อเขียนของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ในหนังสือตำนานอักษรไทยของท่านตอนหนึ่งว่า  "ในสยามประเทศนี้พวกสัตบุรุษเคยได้ใช้ตัวอักษรขอมชนิดนี้ (หมายเหตุท่านคงหมายถึงชนิดที่ไทยใช้) ตั้งแต่ครั้งเมื่อสุโขทัยเป็นราชธานีมีตัวอย่างในศิราจารึกวัดป่ามะม่วงภาษามคธเป็นคาถาซึ่งมหาสามีสังฆราช (สังฆราชของประเทศลังกา ซึ่งเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ลัทธิลังกาวงศ์หรือลัทธิเถรวาท) ได้แต่งสรรเสริญพระเกียรติยศของพระยาลือไทย (พระธรรมราชาที่ 1) เวลาเสด็จออกทรงผนวช เมื่อ พ.ศ 1905 (ประชุมศิลาจารึกหลักที่ 4) ตัวอักษรในศิลาจารึกนั้น หาเป็นชนิดเดียวกันกับตัวอักษรขอมในศิลาจารึกภาษามคธของพระมหาสามีสังฆราชไม่ ตัวอักษรในศิลาจารึกภาษาเขมรเหมือนกับตัวอักษรจารึกกรุงกัมพูชา เมื่อราว พ.ศ. 1800 ยังไม่ได้เปลี่ยนรูปสัณฐาน เป็นอักษรขอมที่เขียนหนังสือธรรม เหตุที่ในแผ่นดินพระยาลือไทธรรมราชา มีอักษรขอมใช้ทั่วไปชนิดนี้ อาจเป็นเช่นนี้คือ ศิลาจารึกภาษาเขมรเขียนตามแบบเก่าของเขาแต่ศิลาจารึกภาษามคธนั้นเป็นฝีมือคนไทยเขียน หลักฐานชิ้นนี้ น่าจะสันนิษฐานว่า ชนชาติขอมโบราณคงศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่ง ชาติไทยโบราณก็ได้ศึกษาลอกแบบอักษรจากอินเดียมาใช้ของตนแบบหนึ่งเช่นกัน เรียกว่า ต่างคนต่างลอกมาใช้ในภาษาของตน ต่างคนต่างปรับปรุง และลอกคัดตามความเหมาะสมและรสนิยมของชาติตน ยิ่งเวลาล่วงเลยมานานเข้าก็ยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น

  อย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าอักษรนั้น ดั้งเดิมจะมีที่มาจากแหล่งเดียวกันก็คือ อินเดียก็ตาม ฉะนั้น จึงไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าไทยเอาอย่างจากขอมหรือขอมเอาอย่างจากไทย เพราะหลักฐาน ก็แจ้งจัดอยู่ในศิราจารึกแล้วว่าต่างกันอย่างไร หาใช่ต่างกันเพราะลายมือ ชาตินั้น ชาตินี้เขียนไม่ เช่นเดียวกับอักษรโรมัน ที่ชาติโรมันนำไปเผยแพร่ในทวีปยุโรปชาติต่าง ๆ มีเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ก็ล้วนแต่ใช้อักษรโรมัน เขียน ภาษาของตนทั้งสิ้นไม่เห็นมีใครเคยอ้างว่า อังกฤษเอาอย่างฝรั่งเศส หรือฝรั่งเศสเอาอย่างอักษรเยอรมัน


อักษรขอมในประเทศไทย

  พบหลักฐานการใช้อักษรขอมโบราณเขียน ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ในบริเวณภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ของประเทศไทยปัจจุบัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ แต่จะไม่พบเอกสารโบราณประเภทจารึกที่ใช้อักษรขอมโบราณ ในแถบภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดตากขึ้น ไป หลักฐานทำนองนี้รวมไปถึงโบราณสถาน ที่เรียกว่า ปราสาทหิน ปราสาทอิฐ และพระปรางค์แบบกัมพูชา หรือลพบุรีที่มีอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ แต่ไม่เคยปรากฏอยู่ทางภาคเหนือ

  ในประเทศไทย อักษรขอมถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในงานด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อักษรขอมที่ใช้เขียนภาษาบาลีเรียก อักษรขอมบาลี ส่วนที่ใช้เขียนภาษาไทยเรียก อักษรขอมไทย ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากอักษรขอมกลุ่มอื่นๆ ต่อมา อักษรขอมไทยถูกแทนที่ด้วยอักษรไทย ส่วนอักษรขอมบาลียังคงใช้เขียนภาษาบาลีเรื่อยมา แม้จะมีการพัฒนาอักษรไทยและอักษรอริยกะมาเขียนภาษาบาลีก็ตาม อักษรขอมบาลีถูกยกเลิกไปในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม

  พยัญชนะมีทั้งหมด 35 ตัว โดยแต่ละตัวมีทั้งรูปตัวเต็มกับตัวเชิงหรือพยัญชนะซ้อน มีการจัดแบ่งเป็นวรรคตามระบบภาษาสันสกฤต



  พยัญชนะมีทั้งหมด 35 ตัว โดยแต่ละตัวมีทั้งรูปตัวเต็มกับตัวเชิงหรือพยัญชนะซ้อน มีการจัดแบ่งเป็นวรรคตามระบบภาษาสันสกฤต
รูปพยัญชนะตามผังอักษรข้างต้นถอดเป็นพยัญชนะไทยได้ดังนี้

  • วรรค กะ (แถวที่ 1 จากบน) ก ข ค ฆ ง
  • วรรค จะ (แถวที่ 2) จ ฉ ช ฌ ญ
  • วรรค ฏะ (แถวที่ 3) ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
  • วรรค ตะ (แถวที่ 4) ต ถ ท ธ น
  • วรรค ปะ (แถวที่ 5) ป ผ พ ภ ม
  • เศษวรรค (แถวที่ 6) ย ร ล ว ศ (แถวที่ 7) ษ ส ห ฬ อ


สระ แบ่งเป็นสระลอยกับสระจม รูปสระลอยใช้เขียนคำที่มีเสียง อ มีทั้งหมด 8 ตัว ได้แก่



สำหรับผู้ต้องการที่จะศึกษาอักษรขอมแบบละเอียด : Download
ฟอนต์อักษรขอม : Download

อ้างอิงจาก : วิกิพีเดีย

1 ความคิดเห็น: