หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กสิณ กรรมฐามอันทรงพลัง #001 :: กสิณคืออะไร?


ขอขอบพระคุณ อาจารย์เสก ที่กรุณาเผยแผ่ความรู้เป็นวิทยาทาน

   หลายคนเคยได้ยินเรื่องราว "กสิณ" มามากมาย แต่ก็ไม่รู้มันคืออะไรยังไง? อย่างแท้จริง ทำไมมันถึงถูกล่าวขานกันในสังคมไทยมาช้านาน


   กสิณเป็น 1 ใน 40 กรรมฐานในตำราวิสุทธิมรรคของพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่า วิชากสิณ มีมาเนินนานก่อนจะจะมีพระพุทธศาสนา ซึ่งวิชาเหล่านี้ส่วนใหญ่เหล่าฤาษีชีไพร ในสมัยนั้น ซึ่งเป็นวิชาสมาธิที่ง่ายๆ เพราะพึงการดูรูปให้เกิดสมาธิ จึงสำเร็จกันได้ง่ายๆ (ง่ายๆ นี้หมายถึงมีความเพียรพยายามและทำถูกวิธีการ)

   กสิณนั้นมีอยู่ทั้งหมด 10 อย่าง ผู้ฝึกควรเริ่มฝึกกสิณใดกสิณหนึ่งให้ชำนาญเป็นวสีสมาธิจนได้ฌานและนิมิตต่างๆก่อน เพราะถ้าได้ฌานเสียแล้ว กสิณที่เหลือก็จะฝึกได้ อย่างง่ายดาย ไม่ควรเริ่มทีละหลายกสิณสำหรับผู้เริ่มต้น จะทำให้ได้หน้าลืมหลัง

   การเจริญกสิณสมาธิ คือ การเจริญสติควบคู่ไปกับกสิณนั้นๆ ใจสงบ แล้วก็จะหยุด ความฟุ้งซ่าน เพราะมีสติในสมาธิ จิตก็จะสำเร็จกสิณเอง ดังนี้
  1. ปฐวีกสิณ เพ่งธาตุดิน ภาวนาว่า ปฐวีๆ หรือ ดินๆ
  2. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ ภาวนาว่า อาโปๆ หรือ น้ำๆ
  3. เตโชกสิณ เพ่งไฟ ภาวนาว่า เตโชๆ หรือ ไฟๆ
  4. วาโยกสิณ เพ่งลม ภาวนาว่า วาโยๆ หรือ ลมๆ
  5. นีลกสิณ เพ่งสีเขียว ภาวนาว่า นีลังๆ หรือ เขียวๆ
  6. ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง ภาวนาว่า ปีตังๆ หรือ เหลืองๆ
  7. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ภาวนาว่า โลหิตังๆ หรือ แดงๆ
  8. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว ภาวนาว่า โอทาตังๆ หรือ ขาวๆ
  9. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง ภาวนาว่า อาโลโกๆ หรือ แสงสว่างๆ
  10. อากาศกสิณ เพ่งอากาศ ภาวนาว่า อากาโสๆ หรือ อากาศๆ

ข้อควรทราบ เรื่องคำบริกรรมภาวนา


   คำบริกรรมภาวนานั้น จะภาวนาอย่างไรก็ได้ แล้วแต่จริตของคน ไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลี หรือภาษาไทย (แต่มักนิยมภาวนาเป็นภาษาบาลีมากกว่าภาษาไทย)

   สมัยโบราณจะใช้คำบริกรรมภาวนากสิณแบบสั้นๆ เช่น ฝึกกสิณธาตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ภาวนาว่า ปฐวีๆ อาโปๆ เตโชๆ วาโยๆ เป็นต้น

   สมัยปัจจุบันจะใช้คำบริกรรมภาวนากสิณแบบใหม่ เช่น ฝึกกสิณธาตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ภาวนาว่า ปฐวี กสิณัง , อาโป กสิณัง , เตโช กสิณัง , วาโย กสิณัง , เป็นต้น แม้แต่ฝึกกสิณอื่น ก็ต่อท้ายกสิณนั้นๆ ด้วยคำว่า กสิณัง เช่นกัน

   การใช้คำบริกรรมภาวนาภาษาบาลีแบบสั้นหรือแบบยาว หรือจะภาวนาภาษาไทยก็ได้อย่างไหนก็ได้สุดแล้วแต่จริตของเราเป็นหลัก , ทำให้จิตเราสงบ มีสมาธิ เป็นสำคัญ

   การปฏิบัติสมาธิ เริ่มต้นจำเป็นต้องใช้คำบริกรรมภาวนา เพื่อป้องกันไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน สงบเป็นสมาธิ เมื่อสำเร็จสมาธิตั้งแต่ฌาน 2 ขึ้นไป คำบริกรรมภาวนานั้นจะหายไป ไม่ตกใจ ทำทุกอย่างให้เป็นปกติ ใจเราจะสงบนิ่งอยู่ในสมาธิ จนจิตเป็นหนึ่งเดียว ปล่อยวางเป็นอุเบกขา

หมายเหตุ : จิตยังไม่ได้ฌานอาจฟุ้งซ่าน จำเป็นต้องมีสติอยู่ในคำบริกรรมภาวนา แต่ถ้าจิตได้ฌานแล้ว คำบริกรรมภาวนาจะหายไป หรือไม่ใช้คำบริกรรมภาวนาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียกกลับมา เหมือนผู้ที่ยังไม่ได้ฌาน (ผู้ที่ไม่ได้ฌาน กับผู้ที่สำเร็จฌานแล้ว) จึงแตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น