หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กสิณ กรรมฐามอันทรงพลัง #005 :: การเตรียมใจสู่การฝึกที่แท้จริง

ทำอย่างไรเพ่งวัตถุภายนอกเจริญกสิณ แล้วทำใจให้สงบเป็นสมาธิได้


   การทำจิตให้สงบ โดยเจริญกสิณ จะหลับตาและลืมตา จนจำเป็นนิมิตของกสิณนั้นๆ

   การใช้ตาเพ่งกสิณ เพื่อให้จำเป็นนิมิตติดตาได้อย่างรวดเร็ว เวลาใจไม่สงบเป็นกสิณนั้นๆ ที่เราฝึก ก็ให้เจริญสติควบคู่ไปกับกสิณนั้นๆ เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องหลับตาและลืมตา เพื่อให้ตาเพ่งกสิณ จะใช้จิตเพ่งกสิณแทน จิตจึงสำเร็จกสิณได้อย่างรวดเร็ว

   ตัวอย่างเช่น ฝึกกสิณดิน เริ่มต้นฝึกกสิณจะใช้ตาเพ่งดิน จะหลับตาและลืมตา จนจำเป็นนิมิตได้อย่างรวดเร็ว เมื่อจำจนเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตาเพ่งอีกต่อไป จะใช้จิตเพ่งแทน เรียกว่า ได้นิมิตติดตา และนิมิตเทียงเคียง เวลาถูกโลกธรรมมากระทบ จิตใจจะหนักแน่นดั่งแผ่นดิน ไม่หวั่นไหวง่ายๆ

เคล็ดลับการฝึกกสิณให้จำเป็นนิมิตติดตาได้อย่างรวดเร็ว


   เคล็ดลับการฝึกกสิณให้ได้นิมิตอย่างรวดเร็ว คือ จะฝึกกสิณใดให้ทำจิตเป็นเหมือนกสิณนั้นๆ เหตุผลเพราะ เช่น จะฝึกกสิณน้ำ แต่จิตใจไม่เป็นน้ำ ก็ไม่สามารถได้นิมิตกสิณน้ำ หรือ ไม่ได้นิมิตติดตา เวลาใช้อานุภาพกสิณน้ำ จิตใจไม่เป็นน้ำ ก็ไม่สามารถเรียกฝนได้ เป็นต้น

   นี้เป็นเคล็ดลับในการฝึกกสิณ และการใช้อานุภาพของกสิณ นักปฏิบัติควรรู้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติธรรมเจริญภาวนา ดังนี้ คือ
  • การฝึกกสิณดิน ต้องทำจิตให้ต้องแข็งแกร่งดั่งศิลา
  • การฝึกกสิณน้ำ ต้องทำจิตให้เย็นเหมือนสายน้ำ
  • การฝึกกสิณไฟ ต้องทำจิตให้เหมือนเปลวไฟ หรือพระอาทิตย์
  • การฝึกกสิณลม ต้องทำจิตให้เย็นเหมือนสายลม
  • การฝึกกสิณสีต่างๆ ต้องทำจิตให้เป็นกสิณสีนั้นๆ
  • การฝึกกสิณแสงสว่าง ต้องทำจิตให้บริสุทธิ์และสว่าง
  • การฝึกกสิณอากาศ ต้องทำจิตให้ว่างเปล่า

หมายเหตุ : การฝึกเจริญกสิณนั้น แล้วแต่บารมีควบคู่ไปกับความเพียรของคนเราเป็นหลัก บางคนบารมีสูง ใช้เวลาไม่นานก็สำหรับอย่างรวดเร็ว , บางคนไม่มีบารมีทางนี้ อาจใช้เวลานาน

กสิณคุณและกสิณโทษ


   กสิณคุณ หมายถึง เพ่งวัตถุที่เป็นอารมณ์ของกสิณ จะต้องไม่มีตำหนิแต่อย่างใด เป็นวัตถุกสิณที่บริสุทธิ์ จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่านไปที่อื่น สงบเป็นสมาธิ จนได้นิมิตติดตา เป็นต้น

   วัตถุที่บริสุทธิ์ในการเพ่งกสิณ คือ วัตถุที่ไม่มีตำหนิ เช่น ฝึกกสิณน้ำ ก็หาน้ำใส่ขัน เป็นน้ำที่ใส ไม่ขุ่น และไม่มีตะกอน เป็นต้น

   กสิณโทษ หมายถึง เพ่งวัตถุที่เป็นตำหนิของกสิณ เช่น ฝึกกสิณดิน ก็ไปเพ่งตำหนิของดิน มีก้อนหิน ก้อนกรวด เศษใบ้ไม้ เรียกว่า กสิณไม่บริสุทธิ์ หรือฝึกกสิณน้ำ ก็ไปเพ่งน้ำที่ขุ่น หรือน้ำมีตะกอน

   การฝึกกสิณโทษ ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แค่จิตไม่สงบเป็นสมาธิ เพราะแทนที่จะเพ่งวัตถุที่เป็นกสิณจนได้สมาธิ แต่กลับไปเพ่งจุดที่เป็นตำหนิของกสิณแทน จิตจึงไม่เป็นสมาธิ

   สำหรับผู้ที่สั่งสมบารมีในอดีตชาติทางด้านกสิณมา จะเพ่งมองวัตถุของกสิณ ก็สำเร็จอย่างรวดเร็ว จะฝึกอย่างไรก็ได้ ไม่มีโทษ มีแต่คุณฝ่ายเดียว

   สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีบารมีในอดีตชาติทางด้านกสิณมา จำเป็นต้องเพ่งวัตถุที่บริสุทธิ์ เว้นจากวัตถุที่เป็นตำหนิ จึงเรียกว่า ฝึกกสิณคุณ ไม่มีโทษเจือปน ผู้สั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ กับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ พึ่งจะเริ่มต้นฝึก ในปัจจุบัน จึงแตกต่างกัน ดังนี้

   การฝึกเพ่งกสิณ จำเป็นต้องรู้เอง เห็นเอง เข้าถึงเอง ว่าเราเป็นผู้สั่งสมบารมีมา ในอดีตชาติ เกี่ยวกับกสิณจริงหรือไม่ แล้วมีบารมีสั่งสมกสิณไหนมา ก็ควรกสิณนั้น

เริ่มต้นฝึกกสิณ


   การเริ่มต้นฝึกกสิณ จะฝึกกสิณใดกสิณหนึ่งก่อนก็ได้ ให้เหมาะสมกับจริตของตน เมื่อสำเร็จฌานสมาธิ พร้อมด้วยวสีสมาธิแล้ว จะฝึกอีกกี่กสิณก็ได้ ความยากง่าย จึงอยู่ที่กสิณแรกว่า สำเร็จสมาธิจนได้ฌานหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ ก็ไม่สามารถฝึกกสิณต่อไป ให้ชำนาญเป็นวสีสมาธิได้ แต่ถ้าได้แล้ว กสิณที่เหลือก็จะฝึกได้อย่างง่ายดาย

   ผู้เริ่มต้นไม่ควรเริ่มต้นหลายอย่าง จะได้หน้าลืมหลัง ใจเราจะไม่สงบ ควรเริ่มต้น กสิณใดกสิณหนึ่งก็ได้ เพียงอย่างเดียว ให้ใจสงบเป็นสมาธิในกสิณนั้นๆ จนสำเร็จฌานสมาธิ

   ผู้ที่สำเร็จวสีสมาธิ จะเข้าฌาน 1 ด้วยกสิณดิน , จะเข้าฌาน 2 ด้วยกสิณน้ำ , จะเข้าฌาน 3 กสิณไฟ , จะเข้าฌาน 4 ด้วยกสิณลม เป็นต้น เรียกว่า วสีสมาธิ ด้วยเหตุนี้ ผู้เริ่มต้นกับผู้ที่ได้วสีสมาธิ จึงแตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น