หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กสิณ กรรมฐามอันทรงพลัง #009 :: กสิณลม

กสิณลมหรือวาโยกสิณ


คำภาวนา : วาโยกสิณัง, วาโย หรือ ลม เลือกตามความเหมาะสมหรือความสะดวก

   การเริ่มต้นฝึกกสิณลม ให้ฝึกเพ่งลมที่กำลังพัดไปมาตามต้นไม้หรือใบไม้ และทำแผ่นกระดานเป็นวงกลม เพื่อฝึกเพ่งให้เป็นดวงกสิณ ข้อสำคัญเวลาฝึกเพ่งกสิณลม ต้องเพ่งลมที่พัดไปมา ไม่หยุดนิ่ง ถ้าลมขาดช่วง เท่ากับฝึกกสิณลมขาดตอน ไม่ต่อเนื่องกัน หรือจะเอาพัดลมมาไว้หน้าเรา แล้วเพ่งฝึกลมก็ได้ ซึ่งลมจะไม่ขาดตอน ต่อเนื่องกันตลอดเวลา สมาธิกสิณลม จะไม่ขาดหาย พร้อมกับฝึกสติเพ่งกสิณ ใช้คำบริกรรมภาวนาของกสิณลมไปขณะเพ่งกสิณ จะเพ่งลืมตาและหลับตาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำเป็นนิมิตติดตาได้ เรียกว่า ฝึกกสิณคุณ

   การจะเพ่งลมตามธรรมชาติ หรือเพ่งลมที่พัดไปมาไม่ขาดตอนของพัดลม แบบไหนก็ได้ แล้วแต่จริตของเราเป็นหลัก จึงไม่ควรยึดติดในรูปแบบว่าต้องเป็นลมธรรมชาติเสมอไป เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

สำหรับผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณลมมาในอดีตชาติ


   ผู้ที่ไม่เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ ต้องเริ่มต้นฝึกกสิณลม ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่ารีบร้อน เหมือนคนที่มีบารมีไม่ได้ และต้องเว้นจากตำหนิของกสิณลม ซึ่งอาจจะกลายเป็นกสิณโทษ คือ ลมที่ไม่ได้พัดต่อเนื่อง จิตจึงหยุดหรือขาดจากสมาธิของกสิณลม หรือเพ่งลมแล้ว กลับเห็นวัตถุที่ลมพัดไปมา มีต้นไม้ หรือกิ่งไม้ เป็นต้น ต้องกำหนดจิตให้แน่วแน่ว่าเราฝึกกสิณลม ไม่ใช่กสิณสีเขียว หรือกสิณอย่างอื่น ใจเราถึงสงบเป็นกสิณลม ถ้าเราไม่แน่วแน่ในการกำหนดกสิณลม เวลาเราฝึกเพ่งกสิณลม แทนที่จะเพ่งลมให้ใจสงบ กลับไปมองตำหนิของลมแทน ใจเลยฟุ้งซ่าน เรียกว่า กสิณโทษ

สำหรับผู้เคยสั่งสมบารมีด้านกสิณลมมาในอดีตชาติ


   ไม่จำเป็นต้องทำเป็นดวงกสิณลม เพียงแค่มองดูลมพัดไปมาตามที่ต่างๆ ลมบนบก ลมบนน้ำ ลมที่พัดอยู่ตามต้นไม้ ลมพัดไปมาตามร่างกายเรา หรือแม้แต่พัดลม ก็สามารถจำเป็นนิมิตติดตา สำเร็จสมาธิด้วยกสิณลมอย่างง่ายดาย

   เมื่อจำเป็นนิมิตติดตาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลืมตาเพ่งอีกต่อไป แต่จะหลับตาเพ่งกสิณได้ เรียกว่า ใช้จิตเพ่งกสิณ

กสิณลมกับอานาปานสติ แตกต่างกันอย่างไร


  • กสิณลม เป็นการเพ่งลมที่พัดไปมา ให้ใจสงบเป็นสมาธิ โดยมีสติเป็นที่ตั้ง
  • อานาปานสติ เป็นการกำหนดสติพิจารณาลมหายใจเข้าออก

   กสิณลมกับอานาปานสติ ทั้งสองอย่างนี้ จึงเป็นกรรมฐานคนละแบบ คนละเรื่องกัน ไม่ควรเอาปะปนกัน จะทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น