หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กสิณ กรรมฐามอันทรงพลัง #002 :: พื้นฐานการฝึก

การฝึกกสิณต้องใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้นตอน


   การฝึกสมาธิทุกอย่าง รวมทั้งการฝึกกสิณนั้น จำเป็นต้องฝึกบริกรรมคาถาภาวนาเป็นองค์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผู้เจริญกสิณน้ำ ก็ภาวนาสมาธิว่า อาโปๆ หรือน้ำๆ ผู้เจริญกสิณไฟ ก็ภาวนาสมาธิว่า เตโชๆ หรือไฟๆ เป็นต้น เพื่อทำให้จิตสงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ แต่สำหรับผู้ผ่านฌานที่ 1 จะได้นิมิตติดตา จิตจะไม่ส่าย เป็นองค์ฌานสมาธิ คำบริกรรมคาถาภาวนา จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะใจได้สงบนิ่งแล้ว

   สำหรับผู้เริ่มต้นฝึกกสิณนั้น จึงไม่ต้องรีบร้อนใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป การจะก้าว ขึ้นไปบันไดนั้น ตั้งเริ่มก้าวทีละขั้น อย่างช้าๆและมั่นคง (เริ่มจากขั้นแรกให้ชำนาญก่อน ถึงจะไปขั้นอื่นได้) ไม่ควรกระโดดข้ามขั้นตอนไปขั้นสี่เลย เพราะขั้นแรกจิตท่านยังไม่สงบ จะให้จิตปล่อยวางเป็นหนึ่งเดียว อุเบกขาสมาธิเลย ย่อมเป็นไปไม่ได้

   การฝึกกสิณควรเริ่มต้นที่ การเจริญสติในสมาธิของกสิณนั้นๆ ทำใจให้สงบ เพื่อหยุดความฟุ้งซ่าน ผ่านนิมิตไปทีละขั้น (ปล่อยวางในนิมิตอารมณ์ของสุขในสมาธิทั้งปวง) จิตเมื่อผ่านปีติและสุขในสมาธิมาแล้ว จิตก็จะปล่อยวางเป็นอุเบกขาสมาธิได้เอง จิตก็ สงบนิ่งเป็นหนึ่งเดียว ดังนี้

ดวงกสิณ คืออะไร


   ดวงกสิณ คือ การฝึกเพ่งกสิณเป็นวงกลมๆ เพื่อสามารถย่อหรือขยายดวงกสิณนั้นได้ การย่อหรือขยายดวงกสิณ ต้องได้นิมิตติดตาขึ้นไป พอหลับตาก็เห็นภาพกสิณนั้น จนขึ้นตาและขึ้นใจ สามารถกำหนดจิตเห็นภาพในนิมิตนั้นอย่างรวดเร็ว การฝึกเพ่งกสิณ จึงมีลักษณะเป็นวงกลมๆ จะไม่เป็นสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม

กสิณจะมีรูปลักษณ์ตายตัวที่แน่นอน


มีทั้งหมด 10 ประการ ดังกล่าวไว้แล้ว การฝึกกสิณ จึงแตกต่างกับการฝึกมโนภาพสมาธิ คือ

   การฝึกกสิณ มีรูปลักษณ์ตายตัวที่แน่นอน เป็นการฝึกเพ่งวัตถุเป็นอารมณ์ 10 อย่าง จะฝึกอย่างไหนก็ได้ สุดแล้วแต่จริตและบารมีธรรมของเราเป็นหลัก

   มโนภาพสมาธิ เป็นภาพนึกทางใจ ไม่จำกัดสีสันวัตถุที่ฝึกเพ่งเหมือนกสิณ สำหรับผู้เริ่มต้นฝึกกสิณ ควรฝึกเพ่งเป็นวงกลมๆ เพื่อให้สามารถย่อหรือขยาย และจำเป็นนิมิตติดตาได้ง่าย

   สำหรับผู้ที่เคยสร้างสมอบรม กสิณนั้นมาในอดีตชาติ และเป็นผู้มีบุญบารมีธรรม แค่มองดูกสิณนั้นไม่นาน ไม่จำเป็นต้องทำเป็นวงกลม ก็สามารถสำเร็จกสิณนั้นอย่างรวดเร็ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น